เกร็ดความรู้ ระบบเสียง

Shout BOX

วันนี้จะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับ อุปกรณ์ระบบเสียงชนิดหนึ่ง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Shout Box (เช้าต์บอกซ์) ซึ่งถ้าแปลตามความหมายก็คือ กล่อง - ตะโกน หรือ แปลว่า สำหรับใช้เรียก หรือคุยสื่อสารกันระหว่าง ซาวด์ที่ FOH และ ซาวด์ที่ MON แล้วทำไมไม่ใช้ วิทยุ หรือ อินเตอร์คอม 

หลายๆปัจจัย ก็คือ เจ้า Shout box นี่ไม่ต้องพกพาติดตัว หรือไม่มีปัญหาเรื่องเเบตเตอรี่หมด หรือขณะโชว์หรือทำการซ้อมอยู่นั้น เสียงค่อนข้างดังวิทยุสื่อสารอาจจะได้ยินไม่ชัด 

เราจึงได้ทำการเอาลำโพงขนาดไม่ใหญ่มากนี้ มาต่อเข้ากับไมโครโฟน โดยที่ไมโครโฟนของ FOH ก็จะต่อเข้ากับลำโพงที่ MON ซึ่งเราใช้ลำโพง Active เป็นส่วนใหญ่ เพื่อง่ายต่อการใช้งาน และด้านกลับกันก็คือ ต่อไมโครโฟนของ MON เข้ากับลำโพงของฝั่ง FOH แล้วก็ใช้ไมโครโฟนที่มีสวิทเปิด-ปิด เพื่อพูดคุยทำการสื่อสารกัน ซึ่งค่อนข้างที่จะสะดวกในการคุยกันมากกว่าการใช้วิทยุ ในแง่ของทีมงาน งานระบบเสียง

อย่างตัวอย่างในรูปนี้ ที่ซาวด์กำลังถือไมโครโฟนพูดคุยอยู่กับทีมงานอีกฝั่งบนเวที ในระหว่างการซาวด์เชค

รูปภาพจากเพจ LD system บริษัทเครื่องเสียงให้เช่าในประเทศสหรัฐอเมริกา จากงานคอนเสริต Lollapalooza เดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมานี้เอง


Drive rack

ในยุคเริ่มต้นของระบบเสียง PA ที่ยังไม่มีอุปกรณ์ดิจิตอล ที่สมัยนี้เราเรียกว่า Loudspeaker management ที่ในเครื่องตัวเดียว ประกอบไปด้วย EQ Compressor Limiter Delay Crossover เมื่อก่อน อุปกรณ์ทุกชิ้นมันแยกกันอยู่เป็นตัวๆ เราก็ต่อจากมิกเซอร์ออกมาที่อุปกรณ์แต่ละตัว จนไปเข้าที่แอมปริไฟเออ เพื่อขยายเสียงออกลำโพง อุปกรณ์มีหลายตัว เราเอารวมไว้ใน Rack เดียวกัน เวลาไปทัวคอนเสริต เราจะแยก Rack ต่างๆเวลา โหลดของไปสถานที่นั้นๆ 

เราจะมีชื่อเรียก Rack ต่างๆนี้ อย่างเจ้า อุปกรณ์ที่พูดทั้งหมดที่เอาไว้ขับระบบเสียง เราเลยเรียกมันว่า DRIVE RACK นั่นเอง ส่วน Insert rack หรือ บ้านเราเรียก แลคเครื่องปรุง ก็เป็นพวกเอฟเฟค เกต คอม ของมิกเซอร์ อย่างในรูปเป็น Driverack ของ บ.แคลบราเทอ เบอร์ 1 ของฝั่งอเมริกา ในยุคนั้น ถ้าฝั่งยุโรป ก็จะเป็น บริทาเนีย โรล


ที่มารูป https://jpjaudio.com.au/tag/s4